บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบวลีกับประโยค ชุดที่ 7

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ดาวใจร้องเพลงเพราะ เป็นประโยคแบบใด
ก.  ประโยคกรรตุ
ข.  ประโยคกรรม
ค.  ประโยคกริยา
ง.  ประโยคการิต
จ.  ประโยคกริยาสภาวมาลา

ข้อที่  2.   “คนฉลาดที่ไม่พูดโอ้อวด”  ตรงกับสำนวนใด
ก.  น้ำนิ่งไหลลึก
ข.  คมในฝัก
ค.  พูดไปสองไพเบี้ย
ง.  ปากหวานก้นเปรี้ยว
จ.  คดในข้อ งอในกระดูก

ข้อที่  3.  “เป็นอเนกประการ”  มีความหมายอย่างไร
ก.  ประการแรก
ข.  หลายประการ
ค.  ประการสำคัญ
ง.  ประการใด ประการหนึ่ง
จ.  ประการพิเศษ

ข้อที่  4.  คำใด ไม่เป็น คำสุภาพ
ก.  ถั่วงอก
ข.  ผักสามหาว
ค.  ดอกขจร
ง.  ปลาหาง
จ.  ขนมทราย

ข้อที่  5.  ข้อใดเป็นวลี
ก.  ฟ้าผ่า
ข.  ลมพัด
ค.  ยามเย็น
ง.  กบร้อง

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นประโยค
ก.  เสด็จประพาสต้น
ข.  น้ำดำเหมือนจรกา
ค.  เขาเป็นไข้
ง.  เพื่อเธอทั้งหลาย

เฉลย

ข้อที่  1.  ดาวใจร้องเพลงเพราะ เป็นประโยคแบบใด
ก.  ประโยคกรรตุ
ข.  ประโยคกรรม
ค.  ประโยคกริยา
ง.  ประโยคการิต
จ.  ประโยคกริยาสภาวมาลา

วิเคราะห์

คำว่า “ร้อง” คือ กริยาของประโยค  “ดาวใจ” เป็นประธานของประโยค และอยู่ที่ต้นประโยค ประโยคประเภทนี้คือ ประโยคกรรตุ หรือ ประโยคที่มีประธานอยู่ต้นประโยค
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.

ข้อที่  2.   “คนฉลาดที่ไม่พูดโอ้อวด”  ตรงกับสำนวนใด
ก.  น้ำนิ่งไหลลึก
ข.  คมในฝัก
ค.  พูดไปสองไพเบี้ย
ง.  ปากหวานก้นเปรี้ยว
จ.  คดในข้อ งอในกระดูก

วิเคราะห์

ความหมายของสำนวนในตัวเลือก พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

น้ำนิ่งไหลลึก  (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
คมในฝัก   (สํา) ว. มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง  (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
ปากหวานก้นเปรี้ยว  (สํา) ก. พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ.
คดในข้องอในกระดูก  (สํา) ว. มีสันดานคดโกง.

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.

ข้อที่  3.  “เป็นอเนกประการ”  มีความหมายอย่างไร
ก.  ประการแรก
ข.  หลายประการ
ค.  ประการสำคัญ
ง.  ประการใด ประการหนึ่ง
จ.  ประการพิเศษ

วิเคราะห์

คำว่า “อเนก” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

อเนก ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.).

ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  คำใด ไม่เป็น คำสุภาพ
ก.  ถั่วงอก
ข.  ผักสามหาว
ค.  ดอกขจร
ง.  ปลาหาง
จ.  ขนมทราย


วิเคราะห์

ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง  คำสุภาพของ “ถั่วงอก” คือ “ถั่วเพาะ
คำสุภาพของคำอื่นๆ ดูในบล็อก “คำสุภาพในภาษาไทย

ข้อที่  5.  ข้อใดเป็นวลี
ก.  ฟ้าผ่า
ข.  ลมพัด
ค.  ยามเย็น
ง.  กบร้อง

วิเคราะห์

คำที่เน้นขีดเส้นใต้ตัวอักษรสีแดงคือ คำกริยา  ซึ่งหมายความว่า กลุ่มคำดังกล่าวเป็นประโยค  วลีเป็นกลุ่มคำที่ไม่มีกริยา
ดังนั้น ข้อ ค.  จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นประโยค
ก.  เสด็จประพาสต้น
ข.  น้ำดำเหมือนจรกา ????
ค.  เขาเป็นไข้
ง.  เพื่อเธอทั้งหลาย

วิเคราะห์

คำที่เน้นขีดเส้นใต้ตัวอักษรสีแดงคือ คำกริยา  ซึ่งหมายความว่า กลุ่มคำดังกล่าวเป็นประโยค 
ดังนั้น ข้อ ค.  จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

บางคนอาจจะสงสัยว่า ข้อ ข. น่าจะเป็นประโยคได้  ก็เลยเอาความหมายของคำว่า “ดำ” กับ “เหมือน” จากพจนานุกรมมาให้ดูกันเลย

ดำ ๑  ก. มุดลง ในคําว่า ดํานํ้า.
ดำ ๒  ก. ปลูกข้าวกล้า, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า นาดํา, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
ดำ ๓  ว. สีอย่างสีมินหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่างๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ผ้าดํา เต่าดํา มดดํา.
เหมือน  ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.


คำว่า “ดำ” กับ “เหมือน” ในข้อ ข. เป็นคำวิเศษณ์ทั้งคู่  ข้อ ข. จึงไม่มีกริยา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น