บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบวลีกับประโยค ชุดที่ 8

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  อย่าเดินลัดสนาม
ข.  อย่าเด็ดดอกไม้
ค.  ห้ามไม่ให้เด็ดดอกไม้
ง.  ห้ามเด็ดดอกไม้

ข้อที่  2.   ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  เขาลงรถไฟที่สถานีหัวลำโพง
ข.  เขาขึ้นรถไฟไปเชียงใหม่
ค.  เขาโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่
ง.  เขาจับรถไฟไปเชียงใหม่

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  เขาขยันเรียนหนังสือ
ข.  พ่อมอบรางวัลกับเขา
ค.  เขาได้รับรางวัลชมเชย
ง.  พี่กับน้องไปโรงเรียน

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  พ่อถูกเชิญไปงานทำบุญบ้าน
ข.  เขาถูกตำหนิอย่างรุนแรง
ค.  เขาถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
ง.  นักเรียนถูกทำโทษ

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  งูเลื้อยเข้าไปในใต้กองฟืน
ข.  ฝูงช้างกำลังวิ่งหนีไฟป่า
ค.  ฝูงผึ้งบินออกจากรัง
ง.  ฝูงวัวอยู่กลางทุ่งนา

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นวลี
ก.  อย่าเดินลัดสนาม
ข.  ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
ค.  ในวันตรุษจีนปีนี้
ง.  หยุดเล่นเดี๋ยวนี้

ข้อที่  7.  “วิทยาลัยครู” คำว่า “ครู” ทำหน้าที่อะไร
ก.  กรรมการก
ข.  วิกัติการก
ค.  การิตการก
ง.  ลักษณะวิเศษณ์

ข้อที่  8.  “เขาถูกลงโทษเพราะทำผิด” เป็นประโยคชนิดใด
ก.  อันวยาเนกรรถประโยค
ข.  วิกัลปาเนกรรถประโยค
ค.  เหตวาเนกรรถประโยค
ง.  สังกรประโยค

ข้อที่  9.  ข้อใดเป็นอันวยาเนกรรถประโยค
ก.  พอเธอมาถึง เขาก็ไป
ข.  เธอจะเรียน หรือเธอจะเล่น
ค.  เขายากจน เพราะเกียจคร้าน
ง.  ฉันหิวข้าว จนเป็นลม

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  อย่าเดินลัดสนาม
ข.  อย่าเด็ดดอกไม้
ค.  ห้ามไม่ให้เด็ดดอกไม้
ง.  ห้ามเด็ดดอกไม้

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. ข้อความ “ห้ามไม่ให้” เป็นคำปฏิเสธซ้อนกัน

ข้อที่  2.   ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  เขาลงรถไฟที่สถานีหัวลำโพง
ข.  เขาขึ้นรถไฟไปเชียงใหม่
ค.  เขาโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่
ง.  เขาจับรถไฟไปเชียงใหม่


วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. ข้อความ “เขาจับรถไฟ” เป็นสำนวนที่มาจากภาษาอังกฤษ
แอนดรูว์ บิ๊กส์ เขียนไว้ ดังนี้
คุณสามารถใช้คำว่า take หรือ catch ในความหมายว่า ขึ้น หรือใช้บริการรถโดยสารทุกประเภทเช่น take a train, catch a bus, take a plane, catch a tuk-tuk, take a taxi

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  เขาขยันเรียนหนังสือ
ข.  พ่อมอบรางวัลกับเขา
ค.  เขาได้รับรางวัลชมเชย
ง.  พี่กับน้องไปโรงเรียน

วิเคราะห์

ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ควรเขียนว่า “พ่อมอบรางวัลแก่เขา

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  พ่อถูกเชิญไปงานทำบุญบ้าน
ข.  เขาถูกตำหนิอย่างรุนแรง
ค.  เขาถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
ง.  นักเรียนถูกทำโทษ

วิเคราะห์

ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง  ควรเขียนว่า “พ่อได้รับเชิญไปงานทำบุญบ้าน

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนผิดหรือใช้ข้อความผิด
ก.  งูเลื้อยเข้าไปในใต้กองฟืน
ข.  ฝูงช้างกำลังวิ่งหนีไฟป่า
ค.  ฝูงผึ้งบินออกจากรัง
ง.  ฝูงวัวอยู่กลางทุ่งนา

วิเคราะห์

ข้อ ค.  จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง  ควรเขียนว่า “งูเลื้อยเข้าไปใต้กองฟืน

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นวลี
ก.  อย่าเดินลัดสนาม
ข.  ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
ค.  ในวันตรุษจีนปีนี้
ง.  หยุดเล่นเดี๋ยวนี้


วิเคราะห์

คำที่เน้นตัวอักษรสีแดงและขีดเส้นใต้เป็นคำกริยา ซึ่งแสดงว่าข้อความทั้งหมดเป็นประโยค  การที่ไม่เห็นประธาน เพราะเป็นประโยคคำสั่ง และเป็นสำนวนสุภาษิต จึงมีการละประธาน
ข้อ ค.  จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง  ในวันตรุษจีนปีนี้” ไม่มีคำกริยา

ข้อที่  7.  “วิทยาลัยครู” คำว่า “ครู” ทำหน้าที่อะไร
ก.  กรรมการก
ข.  วิกัติการก
ค.  การิตการก
ง.  ลักษณะวิเศษณ์

วิเคราะห์

คำว่า “การก” นั้น จะเกี่ยวข้องกับประโยค คือ การกจะแสดงให้รู้ว่า คำนานหรือสรรพนามเป็นอะไรในประโยค เช่น ประธาน กรรมตรง กรรมรอง เป็นต้น
ข้อ ง. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง  คำว่า “ครู” ขยายคำว่า “วิทยาลัย” คำขยายก็คือ “คำวิเศษณ์”
ข้อที่  8.  “เขาถูกลงโทษเพราะทำผิด” เป็นประโยคชนิดใด
ก.  อันวยาเนกรรถประโยค
ข.  วิกัลปาเนกรรถประโยค
ค.  เหตวาเนกรรถประโยค
ง.  สังกรประโยค


วิเคราะห์

ข้อ ง. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
เหตวาเนกรรถประโยค คือประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล ส่วนใหญ่มักเชื่อมด้วยคำว่า “จึง” หรือ “เพราะฉะนั้น”

ข้อที่  9.  ข้อใดเป็นอันวยาเนกรรถประโยค
ก.  พอเธอมาถึง เขาก็ไป
ข.  เธอจะเรียน หรือเธอจะเล่น
ค.  เขายากจน เพราะเกียจคร้าน
ง.  ฉันหิวข้าว จนเป็นลม

วิเคราะห์

อันวยาเนกรรถประโยคคือประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน
ข้อ ก. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง




ข้อสอบวลีกับประโยค ชุดที่ 7

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ดาวใจร้องเพลงเพราะ เป็นประโยคแบบใด
ก.  ประโยคกรรตุ
ข.  ประโยคกรรม
ค.  ประโยคกริยา
ง.  ประโยคการิต
จ.  ประโยคกริยาสภาวมาลา

ข้อที่  2.   “คนฉลาดที่ไม่พูดโอ้อวด”  ตรงกับสำนวนใด
ก.  น้ำนิ่งไหลลึก
ข.  คมในฝัก
ค.  พูดไปสองไพเบี้ย
ง.  ปากหวานก้นเปรี้ยว
จ.  คดในข้อ งอในกระดูก

ข้อที่  3.  “เป็นอเนกประการ”  มีความหมายอย่างไร
ก.  ประการแรก
ข.  หลายประการ
ค.  ประการสำคัญ
ง.  ประการใด ประการหนึ่ง
จ.  ประการพิเศษ

ข้อที่  4.  คำใด ไม่เป็น คำสุภาพ
ก.  ถั่วงอก
ข.  ผักสามหาว
ค.  ดอกขจร
ง.  ปลาหาง
จ.  ขนมทราย

ข้อที่  5.  ข้อใดเป็นวลี
ก.  ฟ้าผ่า
ข.  ลมพัด
ค.  ยามเย็น
ง.  กบร้อง

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นประโยค
ก.  เสด็จประพาสต้น
ข.  น้ำดำเหมือนจรกา
ค.  เขาเป็นไข้
ง.  เพื่อเธอทั้งหลาย

เฉลย

ข้อที่  1.  ดาวใจร้องเพลงเพราะ เป็นประโยคแบบใด
ก.  ประโยคกรรตุ
ข.  ประโยคกรรม
ค.  ประโยคกริยา
ง.  ประโยคการิต
จ.  ประโยคกริยาสภาวมาลา

วิเคราะห์

คำว่า “ร้อง” คือ กริยาของประโยค  “ดาวใจ” เป็นประธานของประโยค และอยู่ที่ต้นประโยค ประโยคประเภทนี้คือ ประโยคกรรตุ หรือ ประโยคที่มีประธานอยู่ต้นประโยค
คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.

ข้อที่  2.   “คนฉลาดที่ไม่พูดโอ้อวด”  ตรงกับสำนวนใด
ก.  น้ำนิ่งไหลลึก
ข.  คมในฝัก
ค.  พูดไปสองไพเบี้ย
ง.  ปากหวานก้นเปรี้ยว
จ.  คดในข้อ งอในกระดูก

วิเคราะห์

ความหมายของสำนวนในตัวเลือก พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

น้ำนิ่งไหลลึก  (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
คมในฝัก   (สํา) ว. มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง  (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
ปากหวานก้นเปรี้ยว  (สํา) ก. พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ.
คดในข้องอในกระดูก  (สํา) ว. มีสันดานคดโกง.

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.

ข้อที่  3.  “เป็นอเนกประการ”  มีความหมายอย่างไร
ก.  ประการแรก
ข.  หลายประการ
ค.  ประการสำคัญ
ง.  ประการใด ประการหนึ่ง
จ.  ประการพิเศษ

วิเคราะห์

คำว่า “อเนก” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้

อเนก ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.).

ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  คำใด ไม่เป็น คำสุภาพ
ก.  ถั่วงอก
ข.  ผักสามหาว
ค.  ดอกขจร
ง.  ปลาหาง
จ.  ขนมทราย


วิเคราะห์

ข้อ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง  คำสุภาพของ “ถั่วงอก” คือ “ถั่วเพาะ
คำสุภาพของคำอื่นๆ ดูในบล็อก “คำสุภาพในภาษาไทย

ข้อที่  5.  ข้อใดเป็นวลี
ก.  ฟ้าผ่า
ข.  ลมพัด
ค.  ยามเย็น
ง.  กบร้อง

วิเคราะห์

คำที่เน้นขีดเส้นใต้ตัวอักษรสีแดงคือ คำกริยา  ซึ่งหมายความว่า กลุ่มคำดังกล่าวเป็นประโยค  วลีเป็นกลุ่มคำที่ไม่มีกริยา
ดังนั้น ข้อ ค.  จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  6.  ข้อใดเป็นประโยค
ก.  เสด็จประพาสต้น
ข.  น้ำดำเหมือนจรกา ????
ค.  เขาเป็นไข้
ง.  เพื่อเธอทั้งหลาย

วิเคราะห์

คำที่เน้นขีดเส้นใต้ตัวอักษรสีแดงคือ คำกริยา  ซึ่งหมายความว่า กลุ่มคำดังกล่าวเป็นประโยค 
ดังนั้น ข้อ ค.  จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

บางคนอาจจะสงสัยว่า ข้อ ข. น่าจะเป็นประโยคได้  ก็เลยเอาความหมายของคำว่า “ดำ” กับ “เหมือน” จากพจนานุกรมมาให้ดูกันเลย

ดำ ๑  ก. มุดลง ในคําว่า ดํานํ้า.
ดำ ๒  ก. ปลูกข้าวกล้า, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า นาดํา, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
ดำ ๓  ว. สีอย่างสีมินหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่างๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ผ้าดํา เต่าดํา มดดํา.
เหมือน  ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.


คำว่า “ดำ” กับ “เหมือน” ในข้อ ข. เป็นคำวิเศษณ์ทั้งคู่  ข้อ ข. จึงไม่มีกริยา